การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ดีที่สุดก็คือการเชื่อมต่อแบบ Ethernet หรือการเชื่อมต่อทางสายนำสัญญาณที่เราเรียกกันว่าสายแลนนั้นเอง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อคอมพิวเตอร์ ก็จำเป็นที่ต้องใช้สายแลนเช่นกัน ซึ่งสายแลนเป็นสายนำสัญญาณในระบบ Network ที่เราต้องทำความรู้จัก
สายแลนคืออะไร
สายแลน (Lan Cable)เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง Switch หรือ Hub และสายแลนก็ใช้ต่อกับ โมเด็มเราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยตรงก็สามารถที่จะใช้สายแลนในการเชื่อมต่อได้เช่นกัน
สายแลน
การเลือกซื้อสายแลนนั้นเราควรเลือกซื้อให้เข้ากับอุปกรณ์เชื่อมต่อ อาทิ Switch HUB Modem Router โดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะมีอัตราความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 10/100/1000 Mbps ซึ่งสายแลนที่นิยมใช้งานมากที่สุดจะเป็นสายแบบ UTP (UNSHIELD TWISTED PAIR) คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน โดยสายแลนต้องมีการเข้าหัวต่อเพื่อเชื่อมเข้าอุปกรณ์ ซึ่งหัวนี้เรียกว่า RJ-45
สายแลนมีกี่ประเภท
สายแลนแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสายแลน
1.แบ่งตามการใช้ภายนอกและภายในอาคาร โดยที่สายภายนอกอาคารจะมีปลอกหุ้มที่แข็งกว่าและหนากว่าสายภายในเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร
2.แบ่งตามลักษณะการหุ้มฉนวน มีตั้งแต่ฉนวนอย่างเดียวไม่มีฟอยล์ มีฟอยล์นอก และมีฟอยล์หุ้มทั้งหมด
3. แบ่งตามคุณภาพความถี่ที่รองรับได้
- ประเภทที่หนึ่ง คือ UTP UTP CAT5 คือ สายแลน ที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานกันซักเท่าไรเนื่องด้วยอความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำ
- ประเภทที่สอง UTP CAT5e คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs
- ประเภทที่สาม UTP CAT6 คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz
- ประเภทที่สี่ UTP CAT7 คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz
4. แบ่งตามการเข้าหัว ของสายแลนตามลักษณะการใช้งาน
สายแลน เป็นสายนำสัญญาณที่เราควรเลือกให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อและการเข้าหัวของสายแลนก็มีส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้การเชื่อมต่อมีความเสถียรภาพและการส่งข้อมูลที่ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้งานสายแลนเราก็ควรเลือกตามลักษณะงานที่เราจะใช้งานด้วยเช่นกัน
Cr : เกร็ดความรู้.net