มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของ Facebook.com ซึ่งในปัจจุบัน ยังสามารถครองแชมป์เป็นอันดับ 1 ของสังคมออนไลน์


มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้ขนานนามว่าเป็นเด็กหนุ่ม
อัจฉริยะที่สามารถสร้างฐานะด้วยลำแข้ง ของตนเอง โดยใช้เวลาเพียงแค่ ๖ ปี เท่านั้น และยังครองแชมป์ เป็นสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Elliot Zuckerberg) มีเชื้อสายยิว – อเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗ (ปัจจุบันอายุ 31 ปี) (คนเก่งระดับโลก เช่น ไอน์สไตน์, ฟอน บราวน์ เป็นต้น มักมี เชื้อสายยิว – ผู้เขียน) เติบโตในย่าน Dobbs Ferry นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา เข้าศึกษาระดับมัธยมที่ Ardsley High School และจบมัธยมปลาย ที่ Phillips Exeter Academy ในปี ๒๕๔๕
สมัยเรียนไฮสกูล ซักเคอร์เบิร์กหัดเป็นโปรแกรมเมอร์ ตั้งแต่อยู่ชั้น ป. ๖ เขากับเพื่อนสร้าง โปรแกรมสำหรับเรียนรู้นิสัยการฟังเพลงของผู้ใช้ Winamp และ MP3 และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางอินเตอร์เน็ต ซัคเกอร์เบิร์กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด หยุดเรียนไป กลางคัน และกลับมาลงทะเบียนเรียนอีกครั้งในปี ๒๕๔๙ ที่ฮาร์เวิร์ด ซัคเกอร์เบิร์กเริ่มต้นโครงการวิจัยหรือโปรเจ็กต์ชิ้นแรกกับเพื่อนร่วมห้อง Arie Hasit ชื่อของโปรเจ็กต์นี้คือ Coursematch เป็นบริการที่เปิดให้นักศึกษาสามารถดูรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้
โปรเจ็กต์ต่อมาคือ Facemash.com เว็บไซต์โหวตรูปนักศึกษาฮาร์เวิร์ดว่าใครได้รับความนิยมชมชอบมากหรือน้อย แต่แล้วเมื่อโปรเจ็กต์นี้ให้บริการจริงบนโลกออนไลน์เพียง ๔ ชั่วโมง มหาวิทยาลัยก็ลงดาบระงับการใช้อินเทอร์เน็ตของซัคเกอร์เบิร์ก ด้วยข้อหาว่าโปรเจ็กต์นี้ของซัคเกอร์เบิร์กละเมิดนโยบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้และเป็นภัยต่อระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ซัคเกอร์เบิร์กคลอดบริการนาม Facebook จากห้องพักตัวเองในมหาวิทยาลัยด้วยฤกษ์วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ บางแหล่งข่าวระบุว่าซัคเกอร์เบอร์เขียน โปรแกรม FaceBook ชุดดั้งเดิมในเวลาไม่ถึง ๒ สัปดาห์คราวนี้ไม่ใช่บริการโหวตรูปหรือบริการแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้น แต่เป็นบริการที่ให้นักศึกษาสามารถโพสต์ข้อมูลของตัวเองได้เท่าที่ต้องการ
Dustin Moskovitz เพื่อนร่วมก่อตั้ง Facebook.com กับ Mark Zuckerberg
แน่นอนว่าเฟสบุ้กได้รับความนิยมถล่มทลายในฮาร์เวิร์ด นักศึกษาราว ๒ ใน ๓ แห่ลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่ ๒ สัปดาห์แรกที่เปิดให้บริการ ต่อมาซัคเกอร์เบิร์กและเพื่อน Dustin Moskovitz เริ่มขยายบริการเฟสบุ้กไปยังมหาวิทยาลัยอื่น เช่น สแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล โดยราว ๔ เดือนสถานศึกษาที่ใช้บริการ Facebook มีจำนวนราว ๓๐ แห่ง เมื่ออะไรก็ไปได้สวย
ซัคเกอร์เบิร์กตกลงใจเดินทางไป Palo Alto แคลิฟอร์เนียพร้อม Moskovitz และกลุ่มเพื่อนช่วงฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ ทั้งกลุ่มวางแผนกลับฮาร์เวิร์ดให้ทันฤดูใบไม้ร่วงแต่ก็เปลี่ยนใจอยู่ที่แคลิฟอร์เนียต่อไป และขาดเรียนที่ฮาร์เวิร์ดตั้งแต่นั้น
Facebook นั้น เป็นที่รู้จักในนามบริการออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้แบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนที่อยู่ในสังคมเดียวกันแบบรวดเร็วทันใจ และเข้าถึงทั้งข้อมูลแฟ้มภาพถ่ายเมื่อครั้งไปเที่ยว ภาพยนตร์ที่ชอบ และประวัติส่วนตัวทั่วไปต่างจากเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์อื่นตรงที่ Facebook เป็นชุมชนในโลกที่มีตัวตนอยู่จริง ใช้ชื่อ Email เดียวกันและต้องการทำความรู้จักคนอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ทั้งหมดนี้โดนใจชาวอเมริกันที่กระตือรือร้นอยากจะรู้จักคนอื่นในสังคมเดียวกันให้มากขึ้น
ซัคเกอร์เบิร์กได้พบกับ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์ PayPal ซึ่งให้ทุนก้อนแรกมา ๕ แสนเหรียญ สำนักงาน Facebookแห่งแรกจึงกำเนิดขึ้นที่ University Avenue ในตัวเมือง Palo Alto นับจากนั้นไม่กี่เดือน ปัจจุบัน Facebook มีอาคารสำนักงานในเมือง Palo Altoจำนวน ๔ อาคาร ซึ่งซัคเกอร์เบิร์กเรียกว่า "urban campus" หรืออาณาจักรวิทยาลัย

ลักษณะการทำงานของ Facebook​

Facebook เปิดตัวในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดย มาร์ก ซักเกอร์ เบิร์ก ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาหนุ่มน้อยวัยแค่ ๒๐ ปี จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง "ฮาร์วาร์ด"
เขาร่วมมือกับเพื่อนอีก ๒ คน คิดค้นสร้าง เครือข่ายภายในรั้วมหาวิทยาลัยโดยให้นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้ามาอัพเดตและ แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวและ
รูปภาพได้ จนได้รับความนิยมมากขึ้น จากภายในมหาวิทยาลัยกระจายสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ และขยายกลุ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้สนใจจากทั่วโลกเข้าลงทะเบียนใช้งานมากกว่า ๒๔ ล้านคน เฉลี่ยมีผู้ลงทะเบียนใหม่กว่า๑๐๐,๐๐๐ รายต่อวัน
มีลิงก์จากเพื่อนส่งเข้ามาหาและถ้าตอบตกลง sign up เข้าไปก็จะเข้าไปอยู่ในเครือข่ายของ Facebook ทันที ขณะเดียวกันก็สามารถส่งลิงก์ เชื้อเชิญเพื่อนคนอื่นให้เข้ากลุ่มเป็นลูกโซ่ ต่อไปได้ โดยใน Facebook จะมีการแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์ของแต่ละคน อัพเดตรูปภาพที่ได้ไปเที่ยวกันมา พูดคุย ติดต่อ เมาท์ หรือแม้แต่เข้าไปยุ่งเรื่องคนอื่นก็ได้
บางคนอาจคิดว่า Facebook เหมือนกับ My space เว็บไซต์เครือข่ายออนไลน์ที่ฮอตอยู่ในขณะนี้ แต่ Facebook มีมากกว่านั้นความโดดเด่นของ Facebook คือผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริงและอีเมล์เดียวกันในการลงทะเบียนและมีความต้องการที่จะรู้จักคนอื่นที่มีตัวตนจริง ๆ บนโลกใบนี้
นักวิจัยจากสถาบันแห่งหนึ่งจากอังกฤษกล่าวว่า Facebook ยอดเยี่ยมกว่า My space เพราะเหมาะสำหรับ "เด็กดี" ขณะที่ My space เหมาะสำหรับ ขาร็อก ฮิปฮอป ศิลปิน หรือคนทำงาน

ความร้อนแรง และความหอมหวานของ Facebook ทำให้บริษัท ออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ของโลกอย่างYahoo.com เสนอซื้อกิจการด้วยมูลค่า สูงลิ่วถึง $ ๑.๖ พันล้าน แต่ได้รับการปฏิเสธจาก Mark Zuckerberg ก่อนหน้านี้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ยักษ์ใหญ่ Search Engine อย่าง Google ก็อยากได้ Facebook มาไว้ในครอบครอง ด้วยการยื่นข้อเสนอทุ่ม ๒.๖ พันล้าน ดอลล่าสหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา แต่ดูท่าทีของ CEO Zuckerberg แล้ว ยังอยากเก็บหุ้นส่วน และบริษัทของตัวเองไว้มากกว่า
จากการทุ่มเสนอซื้อ Facebook ของ Google ครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกต ว่าราคาสูงกว่า ที่เคยซื้อ Youtube มากทีเดียว ซึ่งเดิมที Google ได้ซื้อ Youtube มาด้วยราคา $ ๑.๖๕ พันล้าน

ขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์

บิลล์ เกตส์ ผู้สร้างตำนานลาออกจากมหาวิทยาลัย เพื่อมาก่อตั้งไมโครซอฟท์ เป็นนักลงทุนรายแรก ที่ยอมควักกระเป๋าจ่ายเงิน ๒๔๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แลกกับหุ้นเฟชบุ๊กเพียงแค่ ๑.๖ % เมื่อปลายปี ๒๕๕๐ต้งแต่เฟซบุ๊กให้บริการมาได้แค่ ๓ ปี และมีผู้ใช้บริการเพียง ๕๐ ล้านคนขณะนั้น รายได้ของเฟซบุ๊กก็ยังไม่มากมายเท่าทุกวันนี้ โดยสามารถทำเงินเพียง ๑๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินทรัพย์รวมไม่ถึง ๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กระนั้น การตัดสินใจของไมโครซอฟท์หนุนส่งให้มูลค่าตลาดของเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเป็น ๑,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในชั่วข้ามคืน ช่วงเวลานั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไมโครซอฟท์คงกินยาผิด ถึงได้ตัดสินใจขี่ช้างจับตั้กแตนขนาดนั้น แต่นักวิเคราะห์ที่รู้จริงกลับเดาทาง ถูกว่า เงินแค่ ๒๔๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก เมื่อเทียบกับ สิ่งที่ไมโครซอฟท์หมายมั่นปั้นมือ
นั่นคือ การแลกกับสินทรัพย์มหาศาลที่มองไม่เห็นในงบดุล จากการเข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนหลายสิบหลายร้อนล้านคนของ Facebook โดยเฉพาะลูกค้าต่างประเทศ และลูกค้าในวัยหนุ่มสาว ซึ่งไมโครซอฟท์ยังเข้าไม่ถึง

ขายหุ้นให้กับ DST สัญชาติรัสเซีย

นอกจากนี้ ดีลประวัติศาสตร์อีกครั้งของ Facebook ก็คือตกลง ขายหุ้นนิดหน่อยให้กับกลุ่มนักลงทุนอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ สัญชาติรัสเซีย "ดิจิตอล สกาย เทคโนโลยีส์" หรือ DST เพื่อแลกกับการเจาะตลาด Facebook ในแถบรัสเซีย และยุโรปตะวันออก ซึ่ง DST เป็นเจ้าของธุรกิจ และนายทุนใหญ่คุมตลาดอินเตอร์เน็ตทั้งภูมิภาคดังกล่าว
ดีลประวัติศาสตร์นี้ ตกลงกันสำเร็จเมื่อเดือน พฤษภาคม ปีที่แล้ว โดยฝ่ายนายทุนหมีขาวใจป้ำยินดีจ่ายเงิน ๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แลก เปลี่ยนกับหุ้นบุริมสิทธิแค่ ๑.๙๖ % ของหุ้น Facebook ซึ่งขณะนั้นมีมูลค่า รวม ๑๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมรับปากว่าจะไม่มีตัวแทนในบอร์ด บริหารและไม่ก้าวก่ายเรื่องการบริหาร ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญของ Facebook ตลอดมา
ถึงแม้จะร่ำรวยทั้งเงินทองและชื่อเสียงชนิดหาตัวจับยาก แต่ทุกวันนี้ CEO หนุ่มแห่ง Facebook ยังคงใช้ชีวิตสมถะไม่แตกต่างจากเดิมเขาชอบสวมสเวตเตอร์เชิ้ตสีน้ำตาล กับกางเกงสแล็กสีกากีง่าย ๆ และรองเท้าแตะอาดิดาสคู่โปรดยังคงเช่าอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ อยู่ใกล้ออฟฟิศทำงานย่าน พาโล อัลโต ซึ่งเป็นซิลิคอน วัลเลย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งFacebook ใหม่ ๆ ภายในห้องมีแค่ฟูกนอนราคาถูก โต๊ะทำงานตัวเดียว กับเก้าอี้สองตัว
ส่วนอาหารเช้าของมหาเศรษฐี ก็ยังเป็นซีเรียลใส่นมในชามกระดาษกับช้อนพลาสติก และใครจะเชื่อว่าเขายังขี่จักรยาน หรือไม่ก็เดินไปทำงานทุกวัน !!!ที่มา : mewic.wordpress.com